เครื่องพ่นหมอกควัน FOGGING MACHINE
ปัญหายุงลาย แมลงวัน แมลงสาบ และแมลงอื่นๆ ต้นเหตุของโรคอันตรายเช่น ไข้เลือดออก หรือเชื้อโรคที่มากับแมลง และศัตรูพืช ของพืชผลทางการเกษตร ป้องกันได้หากมีการกำจัดได้ทุกซอกมุมของพื้นที่ เครื่องพ่นหมอกควันจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการกำจัดยุง แมลงต่างๆได้ดี
เครื่องพ่นหมอกควันเป็นเครื่องพ่นกำจัดแมลง เครื่องพ่นกำจัดยุงใช้กำจัดแมลง ป้องกันและควบคุม แมลงที่บินหรือคลาน เช่นยุงลาย ยุงรำคาญ แมลงวัน แมลงสาบ ปลวก ใช้ได้กับ บ้านเรือน คอกปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม รีสอร์ท โรงแรม ในท่อน้ำทิ้ง หรือพื้นที่ การเกษตรเช่น สวนผักสวนผลไม้ นาข้าว ไร่ข้าวโพด สวนส้ม กำลังการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอยได้สมำเสมอ หนาแน่น เข้าถึงทุกซอกมุม มีความทนทานสะดวกต่อการใช้งานเพราะเป็นเครื่องยนต์แบบอัตโนมัติติดง่าย โดยการผสมของอากาสและน้ำมันเบนซิน โดยใช้แบตเตอรี่ 12 โวลต์หัวเทียนเป็นตัวจุดระเบิด เพี่ยงแค่กดปุ่ม และแบตเตอรี่ชาร์ทไฟเข้าใหม่ได้ เมือไฟมีกำลังอ่อน สามารถ การดูแลรักษาไม่ยุงยาก ไม่ร้อนเร็ว มีการระบายความร้อนที่ดีถึง 2 ชั้น ถังน้ำยาและถังน้ำมันทำจากเหล็กสแตนเลส ชนิดหนาพิเศษ ป้องกันการกัดกร่อนของน้ำยาเคมีและน้ำมันเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนง่ายต่อการถอดเปลี่ยนใหม่ สะดวกตรวจสอบหาสาเหตุหากเกิดเครื่องยนต์ขัดข้อง เพราะตำแน่งของหัวเทียนเห็นได้ง่าย ผลิตโดยผู้นำในการผลิตเครื่องหมอกควัน จากประทศเกาหลี ได้รับมาตราฐาน ISO 9001 : 2000
มี 3 รุ่น
- รุ่น BF150 เป็นเครื่องพ่นหมอกควันได้อย่างเดี่ยว
- รุ่น BF200 เป็นเครื่องพ่นหมอกควันและแบบละอองฝอย ได้โดยไม่ต้องติดอุปกรณ์เพิ่ม แค่หมุนวาล์ว เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- รุ่น BF400 เป็นเครื่องพ่นหมอกควัน แบบสั่งการด้วยรีโมทคอนโทรล ทำให้ทำงานสะดวกสบายยิ่งขึ้น
ข้อดี เครื่องพ่นหมอกควัน
- เครื่องพ่นหมอกควันเป็นเครื่องยต์อัตโนมัติติดง่าย เพราะใช้หัวเทียนและแบตเตอรี่ DC 12 โวลต์ในการจุดระเบิด ประหยัดน้ำมัน มีการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอยได้สมำเสมอ หนาแน่นสูง
- ปลอดภัย ไม่ร้อนเร็ว เพราะระบบระบายความร้อน 2 ชั้น
- มีความทนทานและบำรุงรักษาง่าย
ข้อมูล รุ่น | BF 150 บีเอฟ 150 |
BF 200 บีเอฟ 200 |
BF 400 บีเอฟ 400 |
ลักษณะเครื่องพ่น | พ่นหมอกควัน | พ่นหมอกควันและ แบบละอองฝอย | พ่นหมอกควัน |
การติดเครื่องยนต์ | การกดปุ่ม แบบอัตโนมัติ | การกดปุ่ม แบบอัตโนมัติ | การกดปุ่ม แบบอัตโนมัติ |
ระบบไฟฟ้า | แบตเตอรี่ 12 โวลต์ สามารถชาร์ตได้ | แบตเตอรี่ 12 โวลต์ สามารถชาร์ตได้ | แบตเตอรี่ 12 โวลต์ สามารถชาร์ตได้ |
ขนาด (กว้าง x ยาว x สูง) | 23 x 135 x 34 ซม (cm.). | 23 x 135 x 34 ซม (cm.). | 71 x 133 x 49ซม (cm.). |
น้ำหนักเครื่องเปล่า | 9 กิโลกรัม (kg.) | 10 กิโลกรัม (kg.) | 45 กิโลกรัม (kg.) |
ถังบรรจุสารเคมี (สเตนเลส) | 1.8 ลิตร (l.) | 1.8 ลิตร (l.) | 16 ลิตร (l.) |
ถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง (สเตนเลส) | 8 ลิตร (l.) | 8 ลิตร (l.) | 100-150 ลิตร (l.) |
กำลังของเครื่องยนต์ | 30 kw/hr ( 40 แรงม้า) | 30 kw/hr ( 40 แรงม้า) | 43.8 kw/hr ( 59 แรงม้า) |
การสิ้นเปลืองน้ำมันชื้อเพลิง | 1.5 ลิตร ต่อ ชั่วโมง (l./hr.) | 1.8 ลิตร ต่อ ชั่วโมง (l./hr.) | 3.3 ลิตร ต่อ ชั่วโมง (l./hr.) |
น้ำมันชื้อเพลิงที่ใช้ | น้ำมันเบนซิน 91/95 และแก๊สโซฮอล์ | น้ำมันเบนซิน 91/95 และแก๊สโซฮอล์ | น้ำมันเบนซิน 91/95 และแก๊สโซฮอล์ |
อัตราการพ่น | 40 ลิตร ต่อ ชั่วโมง (l./hr.) | 50 ลิตร ต่อ ชั่วโมง (l./hr.) | 85 ลิตร ต่อ ชั่วโมง (l./hr.) |
ระยะในการพ่น | 6 เมตร (m.) | 6 เมตร (m.) | 8-9 เมตร (m.) |
ความดันถังสารเคมี | 0.3 BAR | 0.3 BAR | 0.36 BAR |
ความดันถังเชื้อเพลิง | 0.12 BAR | 0.12 BAR | 0.18 BAR |
ผลิตโดย | ประเทศเกาหลี | ประเทศเกาหลี | ประเทศเกาหลี |
ข้อแนะนำการใช้เครื่องพ่นหมอกควัน
1.การเตรียมเครื่องพ่นหมอกควันให้พร้อมก่อนการใช้งาน
หากเครื่องไม่เคยใช้งานมาก่อน ให้ชาร์ตไฟแบตเตอรี่ครั้งแรก ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง หลังจากครั้งต่อไป ชาร์ตแค่เพียง 1-2 ชั่วโมงก็พอ หากมีการใช้หลายมือควรชาร์ตไฟหลังงานเสร็จ บ่อยครั้งที่ไม่มีคนคอยชาร์ต แนะนำให้คนใช้คนสุดท้ายเป็นคนชาร์ต หรือ นานๆใช้เครื่องจะชาร์ต 1-2 เดือนครั้งก็ได้ (ไฟในแบตเตอรี่จะใช้เมื่อมีการสตาร์ทเท่านั้น ขณะที่พ่นจะไม่เกี่ยวกับไฟใน แบตเตอรี่) การเสื่อมหรือเสียของแบตเตอรี่เกิดขึ้นใช้จนประจุไฟในแบตเตอรี่หมดเกลี้ยง (อายุแบตเตอรี่ประมาณ 2 ปี) เครื่องที่มีการชาร์ตมาแล้วสามารถใช้ได้เลย
1.1 ให้เติมน้ำมันเบนซินสำหรับเครื่องยนต์ (ถังเล็กขวาสุด ขนาด 1.8 ลิตร)
ใช้น้ำมันเบนซินทุกชนิด แนะนำแก๊สโซฮอลล์ 95 หรือ เบนซิน 91 ข้อสำคํญสิ่งสกปรกหรือเศษสิ่งของผสมอยู่ เป็นสาเหตุการอุดตันของหัวฉีดและภาชนะที่นำไปใส่น้ำมันเบนซินต้องสะอาดไม่มีน้ำหรือน้ำมันดีเซลผสม (ไม่ควรใช้ภาชนะใส่น้ำมันดีเซลมาใส่น้ำมันเบนซิน)
หมายเหตุ: ใช้แต่น้ำมันเบนซินเพียงอย่างเดียว ห้ามใส่ส่วนผสมอื่นโดยเด็ดขาด เช่น โอโตลูป น้ำมันเครื่อง
1.2 ให้ผสมน้ำยาที่ต้องการพ่นกับน้ำมันดีเซลสำหรับการพ่นหมอกควัน หรือ ผสมน้ำสำหรับการพ่นละอองฝอย (ถังใหญ่ซ้านสุด ขนาด 8 ลิตร) ข้อสำคํญการผสมจะต้องไม่มีสิ่งสกปรกหรือเศษสิ่งของปนอยู่ เป็นสาเหตุการอุดตันของหัวฉีดน้ำมันดีเซลต้องสะอาดไม่มีน้ำหรือน้ำมันเบนซินผสม(ควรแยกภาชนะใส่น้ำมันดีเซลกับน้ำมันเบนซิน มาใช้ปนกัน)
2. วิธีเลือกระบบการพ่น
2.1 ให้หมุนวาล์วที่เป็นแขนสีแดงที่อยู่ปลายท่อ (ดูจากสติกเกอร์ที่ติดอยู่) ถ้าต้องการเป็นหมอกควัน ให้หมุนไปที่ SMOKE (ตั้งฉากกับท่อ) ถ้าต้องการเป็นละอองฝอยให้หมุนที่ SPAY (แนวเดียวกับท่อ)
หมายเหตุ: ควรเลือกหมุนวาล์วเพื่อเลือกระบบการพ่นให้ถูกต้องตรงตำแหน่งเพื่อการพ่นน้ำยาจากหัวฉีดจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด
3. การเปลี่ยนระบบการพ่นหลังจากเสร็จงานจากระบบเดิมที่ใช้อยู่ เช่น จากควันเปลี่ยนเป็นละอองฝอย หรือ จากละอองฝอยเปลี่ยนเป็นควัน มีขั้นตอนดั่งนี้
3.1 ตรวจสอบน้ำยาที่เหลืออยู่ในถังน้ำยา ให้ทำการถ่ายน้ำยาออกให้หมด โดยเปิดฝาปิดเปิดถังน้ำยาด้านบนถัง หรือพ่นน้ำยาที่เหลือจนไม่เหลือค้าง
3.2 พักการใช้เครื่องประมาณ 30 นาที (ในกรณีเปลี่ยนระบบการพ่น)
3.3 เติมน้ำยาใหม่ลงไป แล้วหมุนวาล์วเลือกระบบหมุนวาล์วที่เป็นแขนสีแดงที่อยู่ปลายท่อ
4. วิธีสตาร์ทเครื่อง
4.1 ให้เช็คฝาปิดทุกจุดปิดแน่นสนิท และวาล์วทุกตัวให้อยู่ตำแหน่งที่ปิด
4.2 กดปุ่มสตาร์ท (ปุ่มสีแดงเล็กๆ เหนือถังน้ำมันเชื่อเพลิง) แบบกดปล่อยกดปล่อยประมาณ 1-2 ครั้ง เพื่อการเผาหัวหากมีน้ำมันเก่าตกค้างในคาร์บูเรเตอร์
4.3 เปิดวาล์วน้ำมัน (เป็นวาล์วแบบหมุนอยู่เหนือถังน้ำมันเชื้อเพลิง หลังจากนี้ วาล์วนี้ เราจะเรียกว่าวาล์วที่ 1) หมุนตามเข็มนาฬิกาปิด- หมุนทวนเข็มนาฬิกาเปิด ให้เปิดพอรู้สึกว่าคลายมือก็เพียงพอ ไม่ต้องหมุนหลายรอบ
4.4 กดปุ่มสตาร์ทกดปล่อยกดปล่อย อย่ากดแช่นานๆ ให้สังเกตน้ำมันวิ่งขึ้นมาตามสายน้ำมัน พอน้ำมันขึ้นมาสุดสาย คือถึงข้อต่อด้านบนสุด ให้กดปุ่มสตาร์ทแช่ 3-4 วินาที เครื่องก็จะติด หากกดปุ่มสตาร์ทแช่ 3-4 วินาที 2 ครั้งยังไม่ติด ให้ปิดวาล์วน้ำมัน แล้วเริ่มต้นใหม่ที่ขั้นตอน 4.1
5. วิธีการพ่นเครื่องพ่นหมอกควัน
5.1 เมื่อเครื่องติด ให้เปิดหมุนวาล์วที่เป็นแขนสีแดงที่อยู่ซ้ายมือถังน้ำยา (วาล์วนี้ทำหน้าที่เปิดปิดน้ำยาพ่น หลังจากนี้ วาล์วนี้ เราจะเรียกว่าวาล์วที่ 2) ให้ขนานกับท่อจะเป็นการเปิด หากขวางท่อจะเป็นการปิด จากนั้นหมุนวาวล์ที่อยู่ถัดไปบนท่อพ่นตรงกลาง (หมุนตามเข็มนาฬิกาปิด- หมุนทวนเข็มนาฬิกาเปิด หลังจากนี้ วาล์วนี้ เราจะเรียกว่าวาล์วที่ 3) ทำหน้าที่ปรับปริมาณน้ำยาให้ออกมากออกน้อย ออกน้อยควันก็น้อยหรือละอองฝอยก็น้อย ออกมากควันก็มากหรือละอองฝอยก็มาก การเปิดวาล์วให้ดูจากควัน หรือละอองฝอยให้พ่นออกมาในปริมาณที่ต้องการโดยที่ไม่ต้องเปิดวาล์วมากเกินไป
5.2 หากต้องการเปลี่ยนจุดพ่น ให้ทำการปิดน้ำยาชั่วคราวโดยหมุนปิดที่วาล์วที่ 3 เท่านั้น เมื่อจะต้องการพ่นต่อให้หมุนเปิดที่วาล์วที่ 3 ที่เป็นตัวปรับปริมาณน้ำยาให้พอเหมาะไม่ควรเปิดวาล์วมากไป
ข้อควรระวังในการพ่น ไม่ควรหันปลายท่อขึ้นหรือลงเกินแนว 30 องศากับพื้นดินควรหันปลายท่อขนานกับพื้นดินหรือกดลงเล็กน้อย เนื่องจากหันปลายท่อมากเกินไปอาจเกิดเปลวไฟขึ้นได้ที่ปลายท่อ (หากพ่นเป็นหมอกควัน เป็นเงื่อนไขการใช้งานของทุกยี่ห้อ)
6. การดับเครื่องพ่นหมอกควันหรือเลิกใช้งาน
6.1 ทำการปิดวาล์วตัวที่ 3 ที่เป็นตัวปรับปริมาณน้ำยาก่อน จากนั้นปิดวาล์วตัวที่ 2 และสังเกตุที่ปลายท่อว่าไม่มีควันหรือละอองฝอยออกมาแล้ว ทำการปิดวาล์วที่ 1 เครื่องก็จะดับ เป็นการดับเครื่อง
กรณีหากปิดวาล์วตัวที่ 1 ทันทีก่อน โดยไม่ปิดวาล์วตัวที่ 3 และ 2 ตามลำดับจะเกิดไฟติดที่ปลายท่อหากพ่นในระบบหมอกควัน เงื่อนไขการใช้เหมือนทุกยี่ห้อ
6.2 จากนั้นหมุนเปิดวาล์วฝาถังน้ำยาออกเล็กน้อยพอมีเสียงลมอัดออกมา เพื่อระบายแรงดันอากาศออก แล้วปิดฝาให้สนิทเหมือนเดิม
6.3 หลังจากใช้งานเสร็จควรชาร์ตแบตเตอรี่ทุกครั้ง ห้ามปล่อยให้แบตตอรี่หมดเกลี้ยง จะทำให้แบตตอรี่เสื่อมได้
หมายเหตุ: หากไฟติดที่ปลายท่อ ให้ปิดวาล์วที่ 3 และ 2 ตามลำดับก่อน จากนั้นจึงปิดวาล์วน้ำมัน และคลายฝาถังน้ำยา ระบายแรงดันอากาศออก สักพักไฟก็จะดับเอง (เป็นเงื่อนไขการใช้งานของทุกยี่ห้อ)
การบำรุงรักษาเครื่องพ่นหมอกควัน
- ควรหยุดพักเครื่องประมาณ 15-20 นาทีต่อการใช้งาน 1 ชั่วโมง หรือ 1ชั่วโมงครึ่ง
- พักเครื่องประมาณ 30 นาทีเมื่อมีการเปลี่ยนระบบการพ่น
- ทำการดับเครื่องทุกครั้งในขณะที่เติมน้ำมันเครื่องยนต์หรือน้ำยาพ่น
- ตรวจสอบว่าแบตเตอรีมีประจุไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา หรือ ชาร์ตไฟทุกครั้งหลังเสร็จงาน
- ควรทำความสะอาดท่อความร้อน โดยมองที่ปลายท่อ จะเห็นท่อเล็กๆ อยู่ภายใน ใช้แปลงลวดที่มีไปกับตัวเครื่อง แหย่เข้าไปทำความสะอาดรู ให้แปรงถูถึงตำแหน่งหัวฉีดน้ำยา เข้าออก 7-8 ครั้งหรือพอรู้สึกว่าลื่นมือ ทำแบบนี้เมื่อมีการใช้งาน 8-12 สัปดาห์ต่อการทำความสะอาด 1 ครั้งเป็นการทำความสะอาด คราบน้ำยาที่หัวฉีดภายในท่อ หรือเขม่า ถูเสร็จก็ให้กดปลายท่อลง แล้วเอามือเคาะท่อเบาๆ ให้เศษผงที่ตกค้างหลุดออกมา
- ในส่วนของตัวเรื่องให้ใช้ผ้าชุบน้ำเปล่าเช็ดก็พอ
- เมื่อรู้ว่าจะไม่มีการใช้เครื่องเวลานาน ควรเทน้ำยาและน้ำมันเครื่องออกจากถังให้หมด และชาร์ตแบตเตอรี่ให้เต็ม
- เมื่อไม่มีการใช้งานนานควรชาร์ตแบตเตอรี่ ทุกๆ 3เดือน
หมายเหตุ: ห้ามปล่อยให้แบตตอรี่หมดเกลี้ยง จะทำให้แบตตอรี่เสื่อมได้ ไฟในแบตเตอรี่จะใช้เมื่อมีการสตาร์ทเท่านั้น ขณะที่พ่นจะไม่เกี่ยวกับไฟใน แบตเตอรี่
ต้นเหตุของการเกิดไฟลุกที่ปลายท่อเครื่องพ่นหมอกควัน
- ท่อความร้อนหรือเล็กๆด้านในจะมีความร้อนสูงประมาณ 550 องศา เมื่อทำการพ่นน้ำยาออกจากหัวฉีดจึงทำให้เกิดเป็นควัน โดยที่ การทำงานของเครื่องจะสร้างแรงอัดอากาศตลอดเวลา หากเราดับเครื่องทันทีโดยไม่มีการปิดวาล์วน้ำยาที่มีส่วนผสมน้ำมันดีเซล แรงอัดอากาศจะไม่มี แต่น้ำยาก็ยังหยดอยู่บนท่อความร้อนที่มีความร้อนสูงทำเกิดไฟลุก
สิ่งที่ต้องให้ความใส่ใจและระมัดระวัง
- ต้องไม่ลืมปิดวาล์วน้ำยาและรอจนไม่มีควันออกมาจึงค่อยปิดวาล์วน้ำมัน
- สังเกตุน้ำมันเครื่องไม่ให้หมดระหว่างพ่น เพราะเมื่อเครื่องดับวาล์วน้ำยายังเปิดอยู่ ทำให้เกิดไฟลุกที่ปลายท่อได้
- เวาลาทำการพ่นต้องไม่ให้หันปลายท่อในทางขึ้นและลงเกิน 30 องศา เพราะอาจจะมีน้ำยาย้อยหรือย้อนท่อความร้อน ทั้งที่จะพ่นออกมาตรงๆ
อีกข้อนึงที่ห้ามลืมการเปิดฝาถังน้ำยาให้ระบายแรงอัดอากาศออก เพราะเมื่อเราดับเครื่องแรงดันอากาศก็ยังคงอยู่ในถังน้ำยา วิธีนี้ช่วยลดอาการถังบ่วมและปริแตกได้ และการเปิดฝาถังน้ำยาแค่ถังเดียวก็พอ หากดูที่สายน้ำมันมีน้ำมันค้างอยู่ให้หมุนวาล์วน้ำมันเล็กน้อย น้ำมันก็จะไหลลงถัง
วิธีการใช้งานเครื่องพ่นหมอกควันการพ่นแบบหมอกควันที่ดี (มีน้ำมันดีเซลเป็นส่วนผสมของน้ำยา)
1. ควรแต่งกายมิดชิดสวมแว่นตาและหน้ากาก ป้องกันควันเข้าตาและการสูดดมหมอกควันเข้าไป
2. ผู้ใช้งานควารอยู่ตำแน่งที่เหนือลม และวางแผนการการพ่นโดยให้เดินถอยหลังหรือในแนวเฉียง เพื่อให้การพ่นครอบคลุมพื้นที่ได้ดีมีประสิทธิภาพ
3. ขณะที่พ่นให้ปลายท่อพ่นก้มลงเล็กน้อยทำให้้ควันเลียดพื้นด้านล้างแล้วค่อยลอยขึ้นด้านบน หากต้องการพ่นในตำแหน่งที่สูงเช่นยอดไม้ ควรยืนหากจากบริเวณที่พ่นพอสมควร และเอียงไม่เกิน 30 องศา ควันที่พ่นออกมาก็จะลอยไปบริเวณที่เราต้องการ
4. การพ่นลงท่อระบายน้ำสิ่งที่ต้องทำคือเปิดฝาท่อระบายน้ำที่เชื่อมกันเพื่อให้อากาศถ่ายเท เมื่อเราพ่นจะได้ไม่มีแรงดันอากาศดันกลับมาให้ห่างพอสมควร และเอียงไม่เกิน 30 องศา และไม่ควรจอที่รูท่ออาจจะเกิดอันตรายได้หากมีแก๊สหรือแรงดันมากที่ภายในท่อนั้น
5. ให้พ่นบริเวณมุมอับ หรือรก ที่ชื้นแฉะ ตามกอหญ้าพงหญ้า เพราะเป็นที่อยู่ของยุงและแมลงต่าง
6. ควรพ่นบ่อยแค่ไหน เพื่อป้องกันและกำจัด ให้ผู้พ่นสังเกตหลังการพ่น พื้นที่โล่งหรือมีการโดนแดด ให้ 3 วันต่อครั้ง ส่วนที่ร่ม หรือภายในอาคาร 5 วันต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและชนิดของน้ำยาที่ผสมเพื่อป้องกันและกำจัด ยุง แมลง
วิธีการใช้งานเครื่องพ่นหมอกควันการพ่นแบบละอองฝอยที่ดี (มีน้ำเป็นส่วนผสมของน้ำยา)
1. ควรแต่งกายมิดชิดสวมแว่นตาและหน้ากาก ป้องกันควันเข้าตาและการสูดดมหมอกควันเข้าไป
2. ผู้ใช้งานควารอยู่ตำแน่งที่เหนือลม และวางแผนการการพ่นโดยให้เดินถอยหลังหรือในแนวเฉียง เพื่อให้การพ่นครอบคลุมพื้นที่ได้ดีมีประสิทธิภาพ
3. ให้ปลายท่อเอียงขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ละอองค่อยๆ ล่วงตกลกมาและยืนห่างบริเวณที่ทำการพ่น อย่างน้อย 4 เมตร เพราะเครื่องสามารถพ่นได้ไกล ถึง 6 เมตรหากไม่มีลมพัดย้อนมา
4. ควรพ่นบ่อยแค่ไหน เพื่อป้องกันและกำจัด ให้ผู้พ่นสังเกตหลังการพ่น พื้นที่โล่งหรือมีการโดนแดด ให้ 4 วันต่อครั้ง ส่วนที่ร่ม หรือภายในอาคาร 7 วันต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและชนิดของน้ำยาที่ผสมเพื่อป้องกันและกำจัด ยุง แมลง